วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่องของจิต การแบ่งจิตของมนุษย์ ระดับที่1

เรื่องเกี่ยวกับจิต การรู้จักตัวเอง การพัฒนาตัวเอง เป็นเรื่องที่ดิฉันสนใจอยู่มาก เมื่อไปอ่านเจอบทความในลักษณะนี้ก็จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ก็เลยเอามาเก็บไว้ในบล็อกของตัวเอง ให้ผู้ติดตามที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้า หวังว่าคงเป็นประโยชน์

ตามหลักการอิสลามได้แบ่งจิตออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ จิตระดับสามัญ หรือที่เรียกว่า นัฟซุลอัมมาเราะฮฺ จิตกระจ่างแจ้ง หรือนัฟซุลเลาวามะฮฺ และจิตที่มี ญาณทัสนะ หรือเรียกว่า นัฟซุลมุฎเฎาะมะอินนะฮฺ

จิตใจสามัญ เป็นจิตระดับต้นสุดหรือระดับแรกสุด ระดับนี้ ในระดับนี้เจ้าของจิตคือมนุษย์สามารถพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปได้ เรียกว่าการมี จิตใจสูงส่ง ซึ่งจะแตกต่างไปจากจิตสามัญทั่วๆ ไปที่ไม่มีการพัฒนาให้สูงขึ้นเป็นจิตระดับต่ำ ที่ไม่แตกต่างอะไรไปจากสิ่งถูกสร้างระดับต่ำ เช่น บรรดาปศุสัตว์ทั้งหลาย จิตระดับนี้ยังคิดไม่ลึกซึ้ง หรือไม่ไกล แต่ถ้าในบางครั้งคิดไกลไปนิดก็มิได้เพื่อใคร แต่เพื่อตนเอง และครอบครัว ยังมีความเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง จิตระดับนี้ยังคงวนเวียนอยู่กับการเสพสุขทางโลกเยี่ยงสรรพสัตว์อื่นๆ ทั้งที่เป็นกามรม กิเลส และตัณหา ยังกระทำทุกอย่างเพื่อสนองตอบอำนาจใฝ่ต่ำของตน หรือเรียกว่าจิตฟุ้งซ่านไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีความสงบ

แต่ถ้าจิตระดับสามัญ (หรือนัฟซุลอัมมาเราะฮฺ) มีการคิดบ้างก็จะกลายเป็นจิตสูง ดังนั้น กระบวนการคิดของผู้มีจิตใจสูงส่งนั้น แตกต่างจากผู้มี จิตใจสามัญ เป็นอย่างมาก เพราะในขณะที่ จิตสามัญ พึ่งพา “ความรู้” ของตนที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์จากผัสสะทั้งห้าอันจำกัดเท่านั้น แต่ จิตใจสูงส่ง และ จิตศักดิ์สิทธิ์ ในระดับที่สูงกว่านั้น มิได้พึ่งพาอยู่แค่แหล่งความรู้อันจำกัดเหล่านั้นเหมือนอย่าง จิตใจสามัญ แต่ยังสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ อย่างเห็นองค์รวม อย่างเห็นภาพรวมภาพเดียว โดยสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราวต่างๆ ที่ซับซ้อนและเข้าใจภาพรวมได้

จิตใจสูงส่ง จึงมิได้ใช้แค่ตรรกะเหตุผลล้วนๆ ในการมองเหตุการณ์และสรรพสิ่ง แต่ยังใช้ ตรรกะร่วมกับสัมผัสพิเศษ อันละเอียดอ่อนในการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วย โดยที่สัมผัสพิเศษนี้ทำให้สามารถได้รับความคิดใหม่ๆ หรือความรู้ใหม่ๆ ซึ่งมีแหล่างที่มาจาก “ภูมิปัญญาอมตะ” ที่อยู่ในมิติที่สูงขึ้นไป เพียงแต่ยังได้รับแค่เป็นครั้งเป็นคราวเท่านั้น

การยกระดับจาก จิตใจสามัญ ไปสู่ จิตใจสูงส่ง โดยผ่านการปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา และการบำเพ็ญเพียรทางจิตอย่างบูรณาการจึงเป็นก้าวแรกของการก้าวไปสู่จิตศักดิ์สิทธิ์ (นัฟซุลมุฎเฎาะมะอินนะฮฺ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น